top of page
Writer's pictureribbiebo

หัวแร้งใช้ทำอะไร...



ในการประดิษฐ์ชิ้นงานต่างๆ นักประดิษฐ์ทุกคนคงยากที่จะปฏิเสธเครื่องมือที่จะมาช่วยสร้างสรรค์งานได้ สารพัดนึกตัวนี้ เพราะบางคนก็ใช้มันอย่างถูกวัตถุประสงค์ และบางคนก็ใช้มันในการเจาะสิ่งประดิษฐ์ของตัวเองให้เป็นรู แม้กระทั่งใช้มันให้ความร้อนในการวาดลายผ้าก็ยังมี ในเมื่อคุณประโยชน์ของมันช่างเอนกอนันต์เสียขนาดนี้ เราจะไม่ทำความรู้จักกันหน่อยหรือคะ?


หัวแร้งที่ ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ หลายขนาด ตามการใช้งานของแต่ละคน แต่โดยส่วนมากแล้ว หัวแร้งที่ใช้กันอยู่จะเป็นแบบหัวแร้งแช่ จนบางท่านอาจไม่รู้เลยว่ายังมีหัวแร้งแบบอื่นๆ อีก




1.หัวแร้งแช่ (Soldering iron)


หัวแร้งแบบ นี้ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ทั้งนักประดิษฐ์หน้าใหม่และหน้าเก๊าเก่า ก็ต้องมีติดบ้านไว้ ซึ่งขนาดของหัวแร้งแช่นี้ ถูกแบ่งตามกำลังวัตต์ ซึ่งหากมีกำลังวัตต์ต่ำ ความร้อนก็ต่ำ แต่หากมีกำลังวัตต์สูงความร้อนก็จะสูงตาม

นอกจากนั้นในหัวแร้งแช่รุ่นใหม่ๆ ยังมีปุ่มเร่งความร้อนให้สูงขึ้นแบบทันทีทันใดอีกด้วย




ข้อดี : ใช้งานง่ายมีกำลังวัตต์ให้เลือกซื้อมาใช้งานตามความต้องการ มีอะไหล่ขายอยู่ทั่วไปทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง

ข้อเสีย : หากจ่ายไฟเลี้ยงหรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้ปลายของหัวแร้งเสียหายได้ เมื่อจะนำไปใช้งานต้องรอให้ความร้อนถึงจุดใช้งานก่อน


หัวแร้งปืน (Soldering gun)


สาเหตุที่ มันถูกเรียกว่าหัวแร้งปืนนั้น ก็เป็นเพราะรูปลักษณ์ของมันที่มีด้ามจับเหมือนปืน และมีปุ่มเร่งความร้อนเหมือนไกปืนอีกด้วย ด้วยลักษณะพิเศษที่มีปุ่มเร่งความร้อนนี้เอง จึงเป็นที่ชื่นชอบของพวกชอบความรวดเร็วกดปุ๊บ ร้อนปั๊บ


การทำงานของหัวแร้งปืนนั้น จะเหมือนกับหัวแร้งแช่ แตกต่างกันตรงขดลวดความร้อนภายในจะมีอยู่ 2 ขด โดยจะมีขดลวดความร้อนต่ำ และขดลวดความร้อนสูงการใช้งานขึ้นอยู่กับปุ่มเร่งความร้อนที่มีลักษณะเหมือน ไกปืน ถ้าไม่มีการกดปุ่มนี้จะเป็นการใช้ขดลวดความร้อนต่ำ แต่เมื่อมีการกดปุ่มเร่งความร้อน จะเป็นการเปลี่ยนให้ขดลวดความร้อนสูงทำงานแทน ทำให้ความร้อนสูงได้รวดเร็ว (หัวแร้ง ปืนในที่นี้ไม่ได้หมายรวมถึงหัวแร้งปืนแบบเก่าที่เร่งความร้อนด้วยขดลวดความ ร้อน เนื่องจากไม่เหมาะสำหรับใช้งานกับการบัดกรีเชื่อมต่ออุปกรณ์ขนาดเล็ก)


ข้อดี : ใช้งานสะดวก มีปุ่มเร่งความร้อนทำให้สามารถบัดกรีในจุดที่ต้องการใช้ความร้อนสูงได้

ข้อเสีย : ถ้ามีการกดปุ่มเร่งความร้อนเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้ด้ามจับเกิดความเสียหายได้ รวมทั้งจะมีผลต่อขดลวดความร้อนด้วย

หมายเหตุ : หัวแร้งปืนในอดีตเป็นหัวแร้งที่ให้ความร้อนจากขดลวดทองแดงใช้กำลังไฟฟ้าสูงหลัก 100 วัตต์ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะกินไฟมากประกอบกับอุปกรณ์และลายทองแดงในสมัยนี้มีขนาดเล็กลง จึงไม่เหมาะในการนำไปใช้งานเพราะจะทำให้อุปกรณ์และลายทองแดงเสียหาย และมีราคาแพงกว่าหัวแร้งแช่ที่มีปุ่มเร่งความร้อน



หัวแร้งแก๊ส (Portable gas soldering)


เป็น หัวแร้งที่สามารถพกพาไปใช้งานได้ทุกที่ ทุกสถานการณ์ เพราะมันไม่ต้องอาศัยพลังงานจากไฟฟ้าเพื่อสร้างความร้อน แต่จะใชแก๊สแทนไฟฟ้า โดยส่วนมาก หัวแร้งแก๊สจะให้ความร้อนได้สูงสุดประมาณ 1,300 องศาเซลเซียส หรื 2,400 อา ศาฟาเรนไฮต์ สามารถปรับความร้อนได้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่เราต้องการ โดยการใช้งานจะมีลักษณะเดียวกับเตาแก๊สในครัวของเรานั่นเองที่มีวาล์วใช้ เปิด ปรับ ปิด ปริมาณแก๊สครับ โดยหัวแร้งแก๊สมี 2 ลักษณะคือ หัวแร้งแก๊สแบบปากกาและแบบปืน


ข้อดี : มีขนาดไม่ใหญ่มาก พกพาง่ายใช้งานสะดวกทุกสถานที่ สามารถใช้งานในลักษณะอื่นที่นอกจากการบัดกรีก็ได้

ข้อเสีย : การ ใช้หัวแร้งแก๊สนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังพิเศษ และต้องเก็บรักษาไว้ในที่ๆ อุณหภูมิไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะกระป๋องแก๊สสำหรับบรรจุแก๊ส


หัวแร้งที่ นำมาแนะนำนี้ยังไม่ครบทุกแบบที่มีการผลิตกันออกมาหรอกนะคะ แต่นำมาเสนอเฉพาะ หัวแร้งที่เหมาะกับงานประดิษฐ์หรือสามารถมีติดบ้านใว้ใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไปเท่านั้นค่ะ


 

4,505 views0 comments

Comments


bottom of page