top of page
Writer's pictureribbiebo

อากาศร้อน..ออกแบบบ้านร้อนให้เย็น อยู่สบายไม่อบอ้าว

Photo from : Pinterest


ด้วยอากาศบ้านเราที่เรียกได้ว่าร้อนขึ้นทุกๆปี ทำให้อีกปัญหาที่ตามมาก็คือ ปัญหาบ้านร้อน ที่เรียกได้ว่าทุกคนคงหนีไม่พ้น ไม่ว่าจะออกไปไหนก็ต้องหลบอากาศร้อนๆทุกวัน ดังนั้นกลับบ้านมาทุกคนก้คงอยากจะอยู่ในบ้านที่อากาศเย็นๆ ไม่ต้องทนร้อนใช่ไหมคะ ดังนั้นการออกแบบบ้านจึงต้องมาดูว่ามีปัจัจยไหนบ้างที่จะส่งผลต่อบ้านและความร้อน เพื่อการอยู่อาศัยที่สะดวกสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว แถมยังช่วยประหยัดค่าเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างแอร์หรือพัดลม ด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นมาดูกันค่ะ ว่ามีส่วนไหนบ้างที่เราควรคำนึงถึงหากจะสร้างบ้านสู้กับความร้อนกันค่ะ





1. ตรวจสอบทิศทางของพื้นที่ที่ต้องการสร้างบ้าน


ก่อนที่เราจะทำการออกแบบ เราควรดูทิศของบ้านกันก่อนค่ะ ว่ามีทิศทางของลมว่าอยู่ทางด้านไหน โดย ด้วยการวางตัวบ้านให้ขนานแนวโคจรของดวงอาทิตย์ ให้ด้านแคบของบ้านหันไปทิศตะวันออกและตะวันตกซึ่งจะต้องเจอแดด แล้วหันด้านยาวของบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ซึ่งได้รับแดดน้อยกว่า และออกแบบช่องลมหรือหน้าต่าง ให้ลมสามารถผ่านได้ตามทิศทางของลม โดยช่องลมเหล่านี้จะช่วยพัดอากาศร้อนออกและทำให้อากาศในบ้านถ่ายเทอยู่เสมอ



Photo from : Pinterest



2.ออกแบบสภาพแวดล้อมรอบบ้านให้เย็น


การออกแบบสภาพแวดล้อมรอบบ้านโดยอ้างอิงจากทิศ และ การหมุนเวียนของลม โดยใช้ธรรมชาตมาช่วยเบาความร้อนของลมและแดดในเวลากลางวัน สามารถทำได้โดยการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ การใช้ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน จะช่วยลดความร้อนที่มักจะสะสมอยู่บริเวณรอบตัวบ้านได้ สามารถออกแบบได้ด้วยการใช้ธรรมชาต รวมไปถึงการออกแบบมาช่วยได้ ดังนี้

  • น้ำ การออกแบบบ่อน้ำ หรือ ใช้บ่อน้ำใว้รอบตัวบ้านหรือทิศทางที่มีความร้อนสูง จะช่วยลดอุณหภูมิรอบๆและในตัวบ้านได้ด้วย

  • ต้นไม้ ช่วยสร้างร่มเงา ช่วยดูดซับความร้อนจากแสงแดด และลดอุณหภูมิ และเพิ่มปริมาณความชื้นในอากาศ โดยบริเวณที่มีการปลูกต้นไม้จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่โดยรอบประมาณ 2-2.5 องศาเซลเซียส อีกทั้งการปลูกกลุ่มต้นไม้จะช่วยสร้างช่องลมให้พัดเข้ามา ทำให้ลมที่พัดเข้ามามีอุณหภูมิต่ำลง และยังช่วยกำบังลมให้พื้นที่ที่มีลมแรง สร้างความร่มรื่นให้กับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

  • วัสดุก่อสร้าง เลือกใช้วัสดุที่ออกแบบมาสำหรับพื้นที่เขตร้อน หรือช่วยลดความร้อนได้ เช่น ระแนงเนื้อไม้ พื้นกรวด พื้นหญ้า หรือ อิฐ แทนที่จะใช้วัสดุที่ดูดซับความร้อน เช่น พื้นคอนกรีต เพราะการใช้ผนังที่ดูดซับความร้อนใว้ จะทำให้ความร้อนคายเข้าสู่ตัวบ้านอยุ่เสมอ


Photo from : Pinterest



3. ออกแบบให้ชานระเบียงกว้าง


การสร้างพื้นที่เปิดโล่งหรือการมีชานระเบียงบริเวณตัวบ้านจะทำให้บ้านมีพื้นที่พักความร้อน โดยจะช่วยในการถ่ายเทของความร้อนก่อนที่จะเข้าสู่ด้านในบ้านโดยตรง รวมถึงการมีชานกว้างจะช่วยให้บ้านมีความโปร่งและไม่อึดอัด ทำให้อากาศมีการหมุนเวียนที่ดี




Photo from : Pinterest



4.จัดสรรความหนาของผนัง


ความหนาของผนังนั้น มีผลต่ออากาศภายในบ้านเช่นกัน โดยผนังที่หนานั้นสามารถช่วยรักษาความเย็นภายในได้ดีกว่า รวมถึงช่วยลดภาระของเครื่องปรับอากาศ ช่วยคุณประหยัดค่าไฟได้เป็นอย่างดี และยังมีความแข็งแรง รวมถึงสามารถกันเสียงจากภายนอก และเก็บเสียงจากภายในห้องได้ดีอีกด้วย

ดังนั้น หากเราไม่มีพื้นที่ที่จะชาวยปลูกต้นไม้รอบๆตัวบ้านหรือสร้างบ่อน้ำเพื่อช่วยระบายความร้อน เราก็สามารถออกแบบผนังรอบตัวบ้านให้ซึมซับความร้อนในเวลากลางวันทดแทน และช่วยให้ตัวบ้านเย็นสบายในเวลาเย็นได้เช่นกัน


Photo from : Pinterest



5.ใช้วัสดุผนังอาคารที่มีค่าต้านทานความร้อนสูง


ผนังก่ออิฐมอญ อิฐมวลเบามีคุณสมบัติป้องกันความร้อนได้ดี ด้วยกระบวนการผลิตและส่วนประกอบทำมาจากดินเหนียวและแกลบ มักจะถูกเลือกใช้ในบริเวณที่โดนความชื้นบ่อยครั้ง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ผนังส่วนที่โดนฝนสาดโดยตรง หรือส่วนที่ต้องรับน้ำหนัก เช่น อ่างล้างหน้า หรือวางเป็นท็อปของส่วนต่างๆในบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นอิฐที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรา เพราะมีคุณสมบัติเรื่องการทนร้อนทนฝนได้ดี โดยเราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มความหนาผนังให้หนาขึ้น เช่น สามารถทำโดยการก่อผนังให้หนาสองชั้น การทำผนังสองชั้นโดยออกแบบให้เหลือช่องวางตรงกลางเพื่อให้อากาศร้อนที่เข้ามาระบายได้ และการเพิ่มฉนวนกันความร้อนให้ผนังอีกชั้น เพื่อป้องกันความร้อนให้ดีขึ้นไปอีก โดยเราควรออกแบบผนังกันความร้อนในส่วนของบ้านหรืออาคารที่ต้องโดนแดดจัดเป็นประจำ จะช่วยในการป้องกันความร้อนได้ดี



Photo from : Pinterest



6.หลังคา

หากบ้านของคุณเป็นบ้านในเขตร้อนชื้นซึ่งได้รับแสงแดดจัดและมีฝนตกหนักเป็นประจำ อีกส่วนที่ควรให้ความสำคัญก็คือ หลังคาของบ้านนั่นเอง โดยมีหลักที่ควรคำนึงดังนี้

  • ทำชายคาให้ยื่นออกมาจากตัวบ้าน โดยชายคาจะช่วยป้องกันแสงแดดจัดและน้ำฝนที่สาดเข้ามารอบทิศทางตามแรงลมและพายุ โดยควรทำชายคายื่นยาวอย่างน้อย 1.50 เมตร

  • ออกแบบหลังคาให้มีความลาดเอียง โดยความลาดเอียงจะช่วยให้ระบายน้ำฝนได้เร็ว รวมถึงความลาดเอียงยังช่วยลดพื้นที่ผิวในการรับแสงแดดได้ด้วย (หากออกแบบหลังคาแบบแบนจะทำให้ตัวบ้านต้องรับแสงแดดตลอดทั้งวัน)

  • ระบายอากาศใต้หลังคา เช่น การทำฝ้าชายคาเว้นร่อง หรือทำหลังคาสองชั้น จะทำให้มีพื้นที่พักความร้อนใต้หลังคา และมีรูเพื่อให้ลมพัดพาความร้อนใต้หลังคาออกไป

  • ติดตั้งฉนวนกันความร้อน โดยใช้ฉนวนกันความร้อนประเภทต่างๆ โดยจะมีทั้งแบบที่ติดตั้งเพื่อใช้สะท้อนความร้อนไม่ให้มาสะสมที่อาคาร หรือแบบหน่วงความร้อน เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อนให้แผ่เข้ามาช้าลง โดยสามารถเลือกให้เหมาะสมกับตัวบ้าน หรือลักษณะของบ้านว่าใช้แบบไหนจะช่วยนะบายความร้อนได้ดีกว่ากัน





















860 views0 comments

Comentarios


bottom of page